ประวัติสโมสรไลออนส์สากล ประเทศไทย
ประเทศไทยตั้งสโมสรไลออนส์เป็นสโมสรแรกเมื่อ พ.ศ. 2502
เริ่มแรก ประมาณกลางปีพ.ศ.2500 ไลออนเอ็ช.ปันโดล ซึ่งเป็นผู้แทนสมาคมสโมสร ไลออนส์สากลประจาภาคเอเซียตะวันตกและมีสานักงานอยู่ที่นครบอมเบย์ประเทศอินเดียได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะมาหาทางดำเนินการก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้นในกรุงเทพมหานครให้ได้ เขาได้มุ่งตรงไปสานักงานยูซิส ของสถานเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาและได้มีโอกาสพบปะคนไทยคนแรกคือน.พ.ปันด์ เลาหะพันธ์ ซึ่งทางานอยู่ที่นั่น ได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องของสโมสรไลออนส์สากลต่อจากนั้นน.พ.ปันด์ได้พา ไลออนปันโดลไปพบม.ล.จิตรสาร ชุมสาย ซึ่งเป็นเพื่อนกันและทางานอยู่ที่สายการบินแอร์อินเดียในเวลานั้นทั้งสามได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องไลออนส์กันอย่างกว้างขวาง และได้แนะนาให้ไลออนปันโดล ได้พบและปรึกษากับม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล, ดร.บุญรอด บิณฑสัณฑ์, คุณตุ๊ วัชราธร, คุณวิชา เศรฐบุตรและหากท่านเห็นด้วยในความคิดนี้ก็ขอให้ท่านแนะนาคนอื่นให้อีกไลออนปันโดล เป็นผู้ที่มีมานะและความตั้งใจเด็ดเดี่ยวจริงๆได้ไปพบท่านเหล่านั้นแต่ละคนด้วยตนเองทั้งสิ้นปีนั้นผ่านไปโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้นเพราะแต่ละท่านยังไม่ให้ความสนใจในเรื่องนี้กันเท่าใดไลออนปันโดล ไม่ละความพยายามได้เดินทางเข้ามาเมืองไทยอีกหลายครั้งในปีต่อมาได้เข้าเฝ้าและพบบุคคลผู้กล่าวพระนามและนามดังกล่าวบ่อยครั้งจนสามารถโน้มน้าวให้เกิดศรัทธาในอุดมการณ์ของไลออนส์สากลในที่สุดสามารถรวมบุคคลได้ 9ท่านคือม.จ.อาชวดิศดิศกุล, ดร.บุญรอด บิณฑสัณฑ์, คุณอนันต์ จินตกานนท์, คุณสุรเทิน บุนนาค, คุณตุ๊ วัชราธร, คุณฉุนประภาวิวัฒน์, คุณทวีเนียวกุล, น.พ.ปันด์ เลาหะพันธ์และม.ล.จิตรสาร ชุมสาย ได้นัดหมายให้พบปะกันที่วังของม.จ.อาชวดิศ และได้ปรึกษาหารือกันอย่างจริงจังในที่สุดก็ได้ตกลงยอมรับที่จะร่วมมือก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้นในระยะแรกของการเตรียมการม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล ได้ทรงพระกรุณาอนุญาตให้บุคคลกลุ่มนี้ไปประชุมที่ตาหนักของท่านที่ถนนเพชรบุรีทุกเย็นวันอาทิตย์ ให้ช่วยกันแปลธรรมนูญและข้อบังคับของไลออนส์สากลออกเป็นภาษาไทยเพื่อเป็นหลักให้สโมสรไลออนส์อื่นๆที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตยึดถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไปเมื่อได้ตรวจทบทวนธรรมนูญและข้อบังคับภาคภาษาไทยจนเป็นที่พอใจแล้วก็ตกลงใจกันที่จะดาเนินการก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้นเป็นแห่งแรกในเมืองไทยและให้ช่วยกันไปชักชวนผู้สนใจและใฝ่ใจในการประกอบกิจกรรมเพื่อการกุศลให้ได้อย่างน้อย 30ท่านมาร่วมกันเป็นสมาชิกก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้น
การก่อตั้งสโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพในพระบรมราชูปถัมภ์ หลังจากมีสมาชิก 30ท่านแล้วได้มีการประชุมกันอีกหลายครั้งที่ปาล์มแรสตัวรองต์หลังโรงแรมเอราวัณโดยมีไลออนปันโดล มาร่วมประชุมด้วยเกือบทุกครั้ง ในที่สุดก็สามารถรวบรวมสมาชิกก่อตั้งได้ถึง 30ท่านจริงๆและได้ให้ความเห็นชอบที่จะให้ชื่อสโมสรว่า“สโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Lions Club of Bangkok” โดยมีดร.บุญรอด บิณฑสัณฑ์ เป็นนายกคนแรกที่ประชุมยังได้มีมติให้ใช้ภาษาในการประชุมเป็นภาษาอังกฤษอีกด้วยสโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ ได้ทาการจดทะเบียนต่อไลออนส์สากลขึ้นเป็นสโมสรไลออนส์แห่งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 13กุมภาพันธ์ 2502และได้จัดให้มีงานฉลองบัตรชาเตอร์ขึ้นในวันที่ 24ตุลาคม 2502ต่อมาสโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้รับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อวันที่ 7พฤษภาคม 2506 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นเกียรติอย่างสูงแก่สโมสรและแก่สมาชิกทุกคนทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ดร.บุญรอด บิณฑสัณฑ์
นายกสโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ
Lions Club of Bangkok
คนแรก
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2502
ม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล
ทรงดำรงตำแหน่ง
ผู้ว่าการภาค 310 ถึง 3 สมัย
การตั้งภาค 310 กิจการไลออนส์ในประเทศไทยได้เจริญก้าวหน้าอย่างเชื่องช้าในระยะ 6-7ปีแรกเพราะยังเป็นของใหม่ต่อคนไทยอยู่สโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯยังคงดาเนินการเป็นเอกเทศอยู่สโมสรเดียวในประเทศไทยไลออนส์สากลได้เสนอให้ไปรวมกับสโมสรไลออนส์ประเทศพม่า แต่ทางสโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ ได้ตอบปฏิเสธไปโดยขออยู่อย่างโดดเดี่ยวและขึ้นตรงต่อไลออนส์สากลและทางไลออนส์ภาค 308(มาเลเซีย-สิงคโปร์)ก็ได้เชื้อเชิญให้ไปร่วมอยู่ในสังกัดภาคเดียวกันอีกก็ได้รับการตอบปฏิเสธไปอย่าง นุ่มนวลด้วยเหตุผลเดียวกันจนกระทั่งพ.ศ. 2507ไลออนส์ในประเทศไทยได้เริ่มสโมสรที่สองขึ้นคือสโมสรไลออนส์ชลบุรีและในปีต่อๆมาก็ได้มีสโมสรเพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพฯและในต่างจังหวัดรวมถึง 8สโมสรในระยะระหว่างพ.ศ. 2509นั้นไลออนส์สากลได้ขอให้สโมสรไลออนส์ในเวียดนามใต้ซึ่งมีอยู่ 6สโมสรแล้ว มาร่วมอยู่ในสังกัดประเทศไทยรวมเป็น 14สโมสร สโมสรไลออนส์ไทยจึงได้รับการแต่งตั้งจากไลออนส์สากลให้เป็นภาค 310 (ชั่วคราว) ระหว่างปีพ.ศ.2509-2511ไลออน ม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล ได้รับการแต่งตั้งจากไลออนส์สากลให้ทรงดารงตาแหน่งผู้ว่าการภาค 310 (ชั่วคราว)ถึง 2ปีติดกัน เนื่องจากในระยะนั้นยังมีสโมสรไม่ครบ 20 สโมสรในปีพ.ศ. 2511สโมสรในประเทศไทยได้ขยายเพิ่มขึ้นเป็น 14สโมสรและในเวียดนามได้มีสโมสรเพิ่มขึ้นเป็น 8สโมสร เมื่อมารวมกันเกิน 20สโมสร ตามธรรมนูญไลออนส์สากลได้กาหนดให้มีผู้ว่าการภาคฯด้วยการเลือกตั้งจากที่ประชุมประจาปีไลออนม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล ได้รับเลือกตั้งให้ดารงตาแหน่งผู้ว่าการภาคฯอีกจึงทรงดารงตาแหน่งผู้ว่าการภาค 310ถึง 3สมัย ต่อมาในปีพ.ศ.2511 สโมสรไลออนส์เวียดนามได้ขอแยกจากเราไปตั้งเป็นภาคของตนเองขึ้นเป็นภาค 311ดังนั้นภาค 310ของเราจึงคงมีแต่เฉพาะสโมสรไลออนส์ไทยเท่านั้นแต่ในต้นปีพ.ศ.2513เราได้ดาเนินการก่อตั้งสโมสรไลออนส์เวียงจันทน์แห่งราชอาณาจักรลาวขึ้นภาค310ในระยะนั้นจึงได้รับการขนานนามว่าไลออนส์สากลภาค310(ไทย-ลาว)แต่หลังจากนั้นมาประมาณ 5ปีเศษสโมสรไลออนส์เวียงจันทน์ไม่สามารถประคองตัวอยู่ได้ภาค 310เราจึงได้เสนอให้ไลออนส์สากลตัดสโมสร ไลออนส์เวียงจันทน์ออกเราจึงเป็นภาค 310ที่มีแต่สโมสรไลออนส์ในประเทศไทยล้วนๆแต่นั้นมาจนบัดนี้
การขยายตัวในปีพ.ศ.2512สโมสรไลออนส์ในประเทศไทยได้จัดให้มีงานฉลองครบรอบ 10ปีโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดาเนินเป็นองค์ประธานตามคากราบบังคบทูลเชิญของคณะกรรมการจัดงานฯขณะนั้นปรากฏว่ามีสโมสรไลออนส์อยู่เพียง 23สโมสรในระยะ 10ปีต่อมาองค์การไลออนส์ในประเทศไทยได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมากเพราะประชาชนทั่วไปได้รู้จักและยอมรับในผลงานของสโมสรไลออนส์ปรากฎว่าในปีพ.ศ.2522มีสโมสรไลออนส์เพิ่มขึ้นเป็น 87 สโมสร และอยู่ในจังหวัดต่างๆถึง 57จังหวัดมีสมาชิกไลออนส์ทั้งสิ้นประมาณกว่า 5,000คน นอกจากนั้นยังได้ก่อตั้งสโมสรสาหรับเยาวชนคือสโมสรลีโอ(LEO CLUB)ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2515-2516 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะฝึกอบรมเยาวชนให้รู้จักเป็นผู้นาหาประสบการณ์และหาโอกาสที่จะได้ใช้ความรู้ที่ได้ฝึกฝนมารับใช้ชุมชนต่อไปทั้งนี้โดยมีสโมสรไลออนส์เป็นผู้ก่อตั้งดูแลอุปถัมภ์โดยตลอดยิ่งกว่านั้นต่อมาในปี 2518ไลออนส์สากลยังส่งเสริมให้สโมสรไลออนส์ตั้งสโมสรไลออนส์สตรี(Lioness Club)ขึ้นอีกประเภทหนึ่งเพื่อสนับสนุนให้สตรีได้ออกประกอบกิจกรรมเคียงบ่าเคียงไหล่กับไลออนและให้อยู่ในความอุปถัมภ์ของสโมสรไลออนส์เช่นเดียวกับสโมสรลีโอ จึงได้มีการก่อตั้งสโมสรไลออนส์สตรีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2519-2520ทั้งสโมสรลีโอและสโมสรไลออนส์สตรีนี้ต่อไปจะทาประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติอีกเป็นอย่างมาก
การแบ่งการบริหารภาคออกเป็น 2 ภาค เนื่องจากในปี 2520ได้มีจานวนสโมสร ไลออนส์ในประเทศไทยกว่า 70สโมสรดังนั้นเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ว่าการภาคซึ่งมีหน้าที่ต้องเยี่ยมเยียนสโมสรไลออนส์ให้ครบทุกสโมสรในหนึ่งปีที่ดารงตาแหน่งและเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของสโมสรไลออนส์สากลที่กาหนดว่าในภาคหนึ่งๆให้มีสโมสรไลออนส์อย่างน้อย 35สโมสรที่ประชุมใหญ่ประจาปีภาค 310ปี2520-2521จึงลงมติให้ขออนุมัติไปยังคณะกรรมการอานวยการสโมสรไลออนส์สากลแยกการบริหารภาค 310ออกเป็น 2ภาคคือภาค 310เอและภาค 310บี แต่คงรวมอยู่ในภาค 310ตามเดิม ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น“ภาครวม 310” ซึ่งก็ได้รับอนุมัติดังนั้น ตั้งแต่ปี 2521-2522เป็นต้นมาสโมสรไลออนส์ในประเทศไทยจึงมีภาค 310เอ, ภาค 310บีและภาครวม 310
การตั้งไลออนส์สตรีภาคนับตั้งแต่สโมสรไลออนส์สากลได้อนุมัติให้สโมสรไลออนส์ตั้งสโมสรไลออนส์สตรีขึ้นได้ตั้งแต่ปี 2518เป็นต้นมากิจการของไลออนส์สตรีได้เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีสโมสรไลออนส์ในประเทศต่างๆตั้งสโมสรไลออนส์สตรีมากขึ้นๆเป็นลาดับดังนั้นในปี2523คณะกรรมการอานวยการสโมสรไลออนส์สากลจึงได้อนุมัติให้มีการจัดตั้งไลออนส์สตรีภาค(Lioness District)ขึ้นได้ โดยกาหนดว่าไลออนส์สากลภาคที่จะจัดตั้งไลออนส์สตรีภาคขึ้นได้จะต้องมีสโมสรไลออนส์สตรีอย่างน้อย 12สโมสรและ 75% ของจานวนสโมสรเหล่านั้นจึงได้ร้องขอให้จัดตั้งเป็นไลออนส์สตรีภาค ในปี 2524-2525สโมสรไลออนส์สตรีในภาค 310เอมีจานวนครบ 12สโมสรและได้ขอก่อตั้งไลออนส์สตรีภาคขึ้นคณะกรรมการบริหารภาค 310เอจึงอนุมัติให้ก่อตั้ง ไลออนส์สตรีภาคขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2525และได้รับการรับรองสถานภาพจากสโมสรไลออนส์สากลเมื่อวันที่ 5มกราคม 2526โดยให้ชื่อว่า“ไลออนส์สตรีภาค 310เอ” จัดเป็นไลออนส์สตรีภาคที่ 20ของโลกครั้นเมื่อมีจานวนสโมสรไลออนส์สตรีครบจานวน 12สโมสรในภาค 310บีแล้ว ก็ได้มีการจัดตั้ง“ไลออนส์สตรีภาค 310บี”ขึ้นอีกจนเมื่อมีการแบ่งการบริหารภาคเป็น 3ภาคแล้วก็ได้จัดตั้ง“ไลออนส์สตรีภาค 310ซี”ขึ้นตามลาดับ
การแบ่งการบริหารภาคออกเป็น 3 ภาค นับตั้งแต่ปี 2521-2522เป็นต้นมาสโมสรไลออนส์ของทั้ง 2ภาคได้เพิ่มจานวนขึ้นอีกจนถึงปี 2524-2525มีจานวนสโมสรไลออนส์ในภาครวม 310กว่า 105สโมสร ซึ่งสามารถจะแยกการบริหารออกได้เป็น 3ภาค ด้วยเหตุผลเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้นดังนั้นในการประชุมใหญ่ประจาปี 2525-2526 ของภาครวม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ประชุมใหญ่จึงได้ลงมติให้แยกการบริหารสโมสรไลออนส์ในภาครวม 310ออกเป็น3ภาคคือภาค 310 เอ, ภาค 310บีและภาค 310ซี และให้ดาเนินการขออนุมัติไปยังคณะกรรมการอานวยการสโมสรไลออนส์สากลตามระเบียบซึ่งก็ได้รับอนุมัติเมื่อเดือนตุลาคม 2526 ดังนั้นในการประชุมใหญ่ประจาปี 2527ของภาครวม 310ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าการภาคเป็น 3ภาคและภาคทั้ง 3เริ่มบริหารงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2527เป็นต้นมา เมื่อภาค310ได้แยกออกเป็น 2ภาคและเป็นภาครวม 310 แล้วการบริหารของภาครวม 310ก็มีการจัดตั้ง“สภาผู้ว่าการภาครวม”(Multiple District Governors Council)ขึ้นประกอบด้วยผู้ว่าการภาคของภาคทั้ง 2กับมีอดีตผู้ว่าการภาคเพิ่งพ้นหน้าที่เป็นประธานสภาฯต่อมาเมื่อแยกออกเป็น 3ภาคผู้ว่าการภาคทั้ง 3 คงเป็นสมาชิกของสภาผู้ว่าการภาครวมและเลือกอดีตผู้ว่าการภาคคนใดคนหนึ่งขึ้นเป็นประธานสภาผู้ว่าการภาครวมด้วย
เมื่อวันที่ 29เมษายน 2533การประชุมใหญ่ประจาปีของภาครวมได้มีข้อยุติรับรองการบริหารออกเป็น 5ภาคเนื่องจากมีสโมสรไลออนส์ทั้งสิ้น 227สโมสรด้วยกันและในปี 2535ซึ่งมีการประชุมใหญ่ประจาปีที่จังหวัดภูเก็ต จึงได้แยกการบริหารสโมสรไลออนส์ในภาครวม 310 ออกเป็น 5ภาคคือภาค 310เอ, ภาค310บี, ภาค310ซี, ภาค 310ดีและภาค 310อี
และในการประชุมใหญ่ประจาปีของภาครวม 310ครั้งที่ 30ปีพ.ศ.2539 เมื่อวันที่ 22-24มีนาคม 2539 ณโรงแรมรีเจ้นท์ชะอาได้มีข้อยุติรับรองการแบ่งภาคออกเป็น 6ภาคคือ 310-เอ1, 310-เอ2, 310บี, 310ซี, 310ดีและ31อี สโมสรไลออนส์ในภาครวมทั้งสิ้นขณะนี้จานวน272สโมสร